ชื่อไทย
จะละเม็ดขาว, แป๊ะเซีย
ชื่อสามัญ
SILVER POMFRET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pampus argenteus (Euphrasen)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามพื้นหน้าดินที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนโคลน อยู่รวมกันเป็นฝูง บางครั้งเข้าไปหากินในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย พบแพร่กระจายในอ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะอ่างทอง จะมีปลาชนิดนี้อยู่อย่างชุกชุม และในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสดีและราคาแพงมาก
ชื่อไทย
จะละเม็ดดำ, โอเซีย
ชื่อสามัญ
BLACK POMFRET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Parastromateus niger (Bloch)
ถิ่นอาศัย
หากินบริเวณชายฝั่งและปากน้ำพบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสดี แต่อร่อยสู้จะละเม็ดขาวไม่ได้ ราคาค่อนข้างถูก นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร
ชื่อไทย
จักรผาน, ซีกเดียว, หน้ายักษ์, โทต๋า
ชื่อสามัญ
INDIAN HALIBUT
ชื่อวิทยาศาสตร์
Psettodes erumei (Schneider)
ถิ่นอาศัย
อยู่บริเวณหน้าดินใต้ท้องทะเล มีอยู่ทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาที่มีขนาดเล็กกว่าแทบทุกชนิด
ขนาด
เป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อมากที่สุด พบทั่วไป มีความยาวประมาณ 18-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อยใช้ปรุงอาหารได้ดี
ชื่อไทย
จาน, อีคุดครีบยาว
ชื่อสามัญ
LONGSPINE SEABREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sparus spinifer Forskal
ถิ่นอาศัย
หากินตามหน้าดินในระดับน้ำลึก 50-100 ม. พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ยาวถึง 40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร
ชื่อไทย
ฉลามหนูใหญ่, ฉลามหนูหัวแหลม
ชื่อสามัญ
WALBEEHM'S SHARP-NOSED SHARK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scoliodon walbeehmi (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
พบในอ่าวไทยในบริเวณพื้นทะเลที่เป็นทราย
อาหาร
กินสัตว์น้ำทุกชนิด
ขนาด
โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 35-95 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีราคาถูก นิยมใช้ทำลูกชิ้นครีบต่าง ๆ ใช้ปรุงอาหารได้ดี มีราคาแพง โดยเฉพาะครีบหู และครีบหลัง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าหูฉลาม