แนะนำเรื่องการตกปลา

ปลาน้ำจืด


ชื่อ ปลาช่อน หลิม(เหนือ) ค้อ(อิสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ chana striata
ลักษณะ มีหัวค่อนข้างโต ลำตัวปกคลุมดว้ยเกล็ดทั้งตัว สีน้ำตาลคล้ำ ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง มีฟัน
แหลมคม มีลายเส้นสีดำคล้ำเป็นเส้นทแยงตลอดตัว พบได้ตามแม่น้ำ หนอง คลอง บึง แหล่งน้ำเล็กๆ(ท่อน้ำตาม โรงเรียนมันยังมีเลย) ปลาช่อนไทยมีความพิเศษ คือสามารถแถกไถ คลานไปหาแหล่งน้ำใหม่ได้โดยเฉพาะตอนฝนตก(คุณอาจจะโชคดีจับปลาช่อนได้ระหว่างเดินกลับบ้านในชนบทช่วงหัวค่ำ เพราะมันคลานได้ช้ามาก) มันสามารถมุดดินยามฝนแล้งเพื่อรอฝนได้เป็นแรมปี ชาวอีสานจะไปขุดหาปลาช่อนตามแหล่งน้ำแห้งขอด ก็หากินได้ไม่ยาก ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงในบ่อ ในกระชังได้ เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่งในไทย โดยเฉพาะ ที่สิงห์บุรีปลาช่อนแม่น้ำเรียกว่า"ปลาช่อนแม่ลา"เนื้อแน่น ไม่เหม็นคาว(ใครไปสิงห์ฯแล้วแด้กปลาเผาเลี้ยงมันช่างโง่สาดดดดนะขอรับ) ที่สิงห์ฯมีร้านขึ้นชื่อคือ "แม่ลาปลาเผา" กินปลาเผาบวกเบียร์เย็นๆร่วมกับคนรู้ใจนี้มันสุดยอดดดดด

นิสัย อดทน ก้าวร้าว แยกกันอยู่เดี่ยว อยู่เป็นคู่ยามฤดูผสมพันธ์ พ่อปลาจะคอยเฝ้าไข่ไว้ แต่ยามที่ฟักเป็นตัวแล้วแม่ปลาจะไล่พ่อปลาไปเพราะพ่อจะกินลูกปลา
กินอาหาร ปลาเล็กรวมถึงปลารุ่นลูก ลูกกบ เขียด สัตว์น้ำขนาดเล็ก


ชื่อ ปลาตะเพียน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbonymus gonionotus
ลักษณะ มีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย บอร์เนียว อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 ซ.ม.พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
นิสัย อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ
กินอาหาร พืช แมลง สัตว์หน้าดิน บริโภคโดยการปรุงสด โดยเฉพาะตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บ ตะไคร่น้ำและปรสิต



ชื่อ ปลาสวาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasianodon hypophthalmus
ลักษณะ มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 ซ.ม. ใหญ่สุด 1.5 เมตร พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน
นิสัย ขี้ตกใจ รักสงบ ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino)
กินอาหาร กินทั้งเศษพืชและสัตว์เล็กๆ



ชื่อ ปลาหมอ เข็ง,สะเด็ด(อิสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus
ลักษณะ มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น
แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก
จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ พบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปใน ทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จัก กันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย
นิสัย ชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม เวลาหายใจจะขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำ มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง
กินอาหาร กินทั้งเศษพืชและสัตว์เล็กๆ






ชื่อ ปลากราย หางแพน(เหนือ) ตองกราย(อีสาน)
ชื่อวิทยาศสตร์ chitara ornata
ลักษณะ ท้องแบน ลำตัวด้านข้างแบนมาก สันหลังสูงชันค่อยๆลาดลงไปที่หาง ตัวสีเทาเงิน ช่วงบนมีสีคล้ำกว่าด้านล่าง มีวงสีดำข้าลลำตัว ๕-๙ วง มีเกล็ดละเอียดทั่วตัว หัวเล็กมน ปากกว้าง ตาเล็ก เป็นอาหารขึ้นชื่อ ในตำราอาหารไทยคือ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ทอดมันปลากราย นิยมมาทำเป็นลูกชิ้น เพราะเนื้อละเอียดเหนียวนุ่ม
เป็นของฝาก ขึ้นชื่อของ อยุธยาคือ หนังปลาทอด

นิสัย อยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ ชอบหลบพักตามตอไม้ ซอกหินใต้น้ำ ไม่ชอบแสงสว่าง หากินกลางคืน ชอบผุดขึ้นมาที่ผิวน้ำ แล้วมว้นตัวกลับลงไปเห็นด้านข้างสีเง็น
กินอาหาร แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาเล็กๆ